ความรู้เกี่ยวกับยุง
ยุง   เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากหลักฐานทางฟอสซิลสามารถสันนิษฐานได้ว่า ยุงมีในโลกตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ 38-54 ล้านปีมาแล้ว โดยปกติตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวาน นอกจากนี้ยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่นไข้เลือดออกยุงตัวเมียจะมีอายุประมาณ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม ส่วนตัวผู้จะมีอายุประมาณ 4-5 วัน จะตายหลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด พบในประเทศไทย ประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดีคือยุงก้นปล่อง (Anopheles) ยุงลาย (Aedes)

ลักษณะโดยทั่วไป
ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 มิลลิเมตร บางชนิดมีขนาดเล็กมาก 2-3 มิลลิเมตร และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มิลลิเมตร ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้อย่างง่ายๆ โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่ ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่

ยุงมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ ( holometabolous) ซึ่งประกอบด้วย ไข่ , ลูกน้ำ , ตัวโม่ง และยุงตัวแก่

การเกิดของยุงจะแบ่งเป็น 4 ขั้น

1. ช่วงเป็นไข่ ซึ่งยุงจะไข่ในน้ำ

2. ช่วงเป็นลูกน้ำตัวยาว ( Larva) จะกินสารอินทรีย์ แบคทีเรีย แพลงตอนในน้ำเป็นอาหาร

3. ช่วงเป็นลูกน้ำตัวกลม หรือลูกโม่ง ( Pupa) คือตัวอ่อนของยุงที่พร้อมจะเป็นยุงแล้ว จะไม่กินอาหาร

4. ช่วงที่เป็นยุง (ตัวแมลง)

ยุงเมื่อลอกคราบออกจากระยะตัวโม่งได้ไม่กี่นาทีก็สามารถออกบินได้เลย อาหารที่ใช้ในระยะนี้ของทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นน้ำหวานจากดอกไม้หรือต้นไม้ การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอากาศ บางชนิดการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในขณะที่ยุงตัวผู้มีการบินวนเป็นกลุ่ม (swarming) โดยเฉพาะเวลาหัวค่ำและใกล้รุ่ง ตามพุ่มไม้ บนศีรษะ ทุ่งโล่ง หรือบริเวณใกล้กับเหยื่อ เป็นต้น และตัวเมียจะบินเข้าไปเพื่อผสมพันธุ์ ยุงตัวเมียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยที่เชื้ออสุจิจากตัวผู้จะถูกกักเก็บในถุงเก็บน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถใช้ไปได้ตลอดชีวิตของมัน ส่วนยุงตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ยุงตัวเมียที่จับได้ตามธรรมชาติมักมีเชื้ออสุจิอยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อเสมอ
ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือดก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้ เช่น ยุงยักษ์ เลือดที่กินเข้าไปถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นลงการย่อยจะใช้เวลานานออกไป
เมื่อไข่สุกเต็มที่ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัยจะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับยุงบางชนิดที่ตัวเมียไม่กัดดูดเลือดคนหรือสัตว์เลย
ยุงตัวเมียวางไข่ประมาณ 30-300 ฟองต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของยุงและปริมาณเลือดที่กินเข้าไป ไข่จะมีสีขาวหรือครีมเมื่อออกมาใหม่ ๆ และในเวลาไม่กี่นาทีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำไปจนถึงสีดำ ไข่ยุงมีรูปร่างลักษณะหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิด ยุงลายวางไข่บนวัตถุชื้น ๆ เหนือผิวน้ำ ยุงรำคาญวางไข่ติดกันเป็นแพบนผิวน้ำ ยุงก้นปล่องวางไข่บนผิวน้ำ ส่วนยุงเสือวางไข่ติดกันเป็นกลุ่มใต้ผิวน้ำติดกับพืชน้ำที่ลอยอยู่ ไข่ยุงส่วนใหญ่ทนต่อคว่อมวามแห้งแล้งไม่ได้ยกเว้นไข่ของยุงลายซึ่งสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้นานหลายเดือน ในเขตร้อนชื้นไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 2-3 วัน
ลูกน้ำของยุงเป็นระยะที่มีความแตกต่างจากตัวอ่อนของแมลงชนิดอื่น มีลักษณะส่วนอกกว้างใหญ่กว่าส่วนหัววและส่วนท้อง เมื่อออกมาจากไข่ใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กมากและค่อยๆ โตขึ้น มีการลอกคราบ 4 ครั้ง ก่อนที่จะเป็นตัวโม่ง ลูกน้ำต้องอาศัยอยู่ในน้ำตลอดระยะที่ดำรงชีวิต มีบางชนิดที่ปรับสภาพพัฒนาตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่น นสามารถอยู่ได้ในสภาพที่เป็นโคลนเปียก หรือในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำหรือสูง ลูกน้ำของยุงชนิดต่าง ๆ หายใจจากผิวน้ำโดยผ่านท่อหายใจ (ยุงลายและยุงรำคาญ) หรือรูหายใจ (ยุงก้นปล่อง) แต่ลูกน้ำของยุงเสือมีท่อหายใจที่สามารถสอดดหรือแทงเข้าไปในบริเวณรากของพืชน้ำ โดยเฉพาะพวกจอกและผักตบชวา เพื่อใช้ออกซิเจนจากโพรงอากาศที่อยู่ที่รากหรือลำต้นของพืชน้ำ ลูกน้ำยุงกินอาหารจำพวก แบคทีเรีย โปรโตซัว ยีสต์ สาหร่าย และพืชน้ำที่มีขนาดเล็ก ลูกน้ำยุงก้นปล่องส่วนใหญ่หากินบริเวณผิวน้ำ บางชนิดอาจดำลงไปกินอาหารใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ลูกน้ำยุงลาย
ยุงรำคาญและยุงเสือหากินใต้ผิวน้ำ ลูกน้ำยุงยักษ์กินลูกน้ำชนิดอื่นหรือพวกเดียวกันเองเป็นอาหาร ในเขตภูมิประเทศร้อนชื้นลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์จึงกลายเป็นตัวโม่ง
ระยะตัวโม่ง (pupa) มีรูปร่างคล้ายตัวจุลภาค ( , ) หรือ comma อาศัยอยู่ในน้ำ ตัวโม่งเป็นระยะพักตัวจะไม่กินนอาหาร รับเอาอากาศในการหายใจแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อถูกรบกวนจะดำน้ำลงสู่ข้างล่างใต้น้ำอย่างรวดเร็วและอยู่ใต้น้ำได้นานหลายนาที ตัวโม่งของยุงลายเสือแตกต่างกับชนิดอื่นโดยมีท่อหายใจแหลมสามารถแทงเข้ารากหรือลำต้นพืชน้ำเพื่อหายใจเหมือนกับระยะลูกน้ำ ในภูมิประเทศเขตร้อนตัวโม่งจะใช้เวลา 2-4 วัน ยุงตัวเต็มวัยลอกคราบออกมาไม่กี่นาทีก็สามารถบินได้ ยุงตัวเมียบางชนิดชอบกัดกินเลือดคน philic) บางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ (zoophilic) บางชนิดกัดดูดเลือดโดยไม่เลือก ยุงสามารถเสาะพบเหยื่อได้โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น กลิ่นตัว คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ( ที่ออกมาจากลมหายใจ ) หรืออุณหภูมิของร่างกาย

โรคติดต่อนำโดยยุงที่สำคัญในประเทศไทย

  1. โรคมาลาเรีย 
  2. โรคไข้เลือดออก
  3. โรคเท้าช้าง
  4. โรคไข้สมองอักเสบ
ขั้นตอนการปฏิบัติงานบริการกำจัดยุง  

การป้องกันยุง กำจัดยุง มีหลายวิธีด้วยกันตามความเหมาะสมของสถานที่นั้นๆ และควรได้รับความร่วมมือในการป้องกันจากเจ้าของสถานที่   ซึ่งวิธีการป้องกัน กำจัด มีหลายวิธีดังนี้

1. วิธีการกำจัดยุงในระยะตัวอ่อน โดยใช้สารเคมีในลงบริเวณที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เพื่อกำจัดยุงในระยะตัวอ่อน  
2. การฉีดพ่นสารเคมี เจ้าหน้าที่ให้บริการฉีดพ่นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับป้องกัน กำจัดโดยคำนึงถึงแหล่งหลบซ่อนและบริเวณเกาะพักอาศัย เช่น กำแพง ตามซอก มุม พุ่มไม้และอื่น ๆ  
3. การอบละอองและการพ่นหมอกควัน การใช้สารเคมีผสมกับน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันดีเซล โดยใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน แบบมือถือ   (Portable Themal Fog) หรือการใช้สารเคมีผสมกับน้ำ โดยใช้เครื่องพ่นฝอยละออง (ULV) เพื่อป้องกันกำจัดยุงในบ้านเรือนหรืออาคารสถานที่ในโรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน โกดังสินค้า ห้องเก็บของภัตตาคาร บาร์ โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล  ท่อระบายน้ำ ท่อน้ำทิ้ง เป็นต้น สำหรับให้บริการพื้นที่ในห้องครัวและโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ควรปกปิดหรือเคลื่อนย้ายอาหาร เครื่องดื่มภาชนะ รวมทั้งพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร เครื่องดื่มนั้น ภายหลังการอบละอองหรือการพ่นหมอกควันและก่อนเริ่มดำเนินการผลิตทุกครั้งควรทำความสะอาดพื้น หลังจากการให้บริการอบละอองหรือการพ่นหมอกควัน ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง  เมื่อพ้นระยะเวลาควรเปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้อากายถ่ายเท ไม่ควรให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่บริการจนกว่าจะมีการระบายอากาศเป็นที่เรียบร้อย ทั้งนี้การให้บริการด้วยการอบละอองและการพ่นหมอกควันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ที่ให้บริการ  
4. การใช้เครื่องดักแมลงหรืออุปกรณ์